วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อ้างอิง



อ้างอิง

  • ·     http://www.school.net.th/library/create web/10000/science/10000-3100.html
  • ·         http://butterflytukta.wordpress.com/2011/08/21/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81/
  • ·         http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

  • ·     http://202.143.150.150/4910414/nighttime.html


วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)


วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)





          พบอาศัยอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน  มักมีปีกสีเหลืองและขาว   ขาคู่หน้าเจริญดีเหมือนผีเสื้อหางติ่ง  เล็บที่ปลายเท้ามี ๔ ซี่  ต่างจากผีเสื้อในวงศ์อื่นที่มีเพียง ๒   ซี่เท่านั้น  ในประเทศไทยมีประมาณ   ๕๐ ชนิด  ที่พบเห็นทั่วโลกคือ ผีเสื้อหนอนคูน (Catopsilia  pomona) กินใบคูน   และใบขี้เหล็ก  ผีเสื้อเณร (Eurema  spp.) ตัวเหลืองเล็ก  บินเรี่ยๆตามกอหญ้า  หนอนสีเขียวใบไม้มีลายขาวพาดด้านข้างตัวตลอดตัว   มักพบลงเกาะดูดกินน้ำตามทรายชื้นเป็นกลุ่มใหญ่

วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)


วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)




          เป็นวงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ  ๒   ปีกบาง   ขนาดเล็กมากจนถึงขนาดปานกลาง    สีและลวดลายมักคล้ายกันทั้งสองปีก  เวลาเกาะกับพื้นจะแผ่ปีกแบนราบกับที่เกาะ  หนอนได้ชื่อว่า   "หนอนคืบ"      เนื่องจากมันมีขาอยู่ตอนปลายสุดทางหัวและทางท้ายเวลาเคลื่อนที่จึงใช้วิธีคืบไป   หนอนมีสีและลวดลายใกล้เคียงกับพืชอาหาร   เวลาตกใจจะยืดตัวตรง  อยู่นิ่งเฉยเป็นเวลานาน  เข้าดักแด้ในดินหรือในรังดักแด้   ที่ห่อเอาใบไม้มาติดกันไว้หลวมๆชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ    คือผีเสื้อหนอนกินใบเงาะ (Pingasaruginaria)

วงศ์ผีเสื้อหนอนกอ (Pytralidae)


วงศ์ผีเสื้อหนอนกอ (Pytralidae)



          วงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓  ของพวกผีเสื้อ     ส่วนมากมีปีกยาวเรียว ส่วนท้องเรียวแหลม  ขายาว     โดยทั่วไปปีกมีสีหม่นบางชนิดมีลายขีดวาวคล้ายโลหะ   ตอนโคนส่วนท้องมีอวัยวะรับเสียงอยู่คู่หนึ่ง  ส่วนมากออกหากินในเวลากลางคืน  หนอนเป็นศัตรูสำคัญของพวกธัญพืช  เช่น  ผีเสื้อชีปะขาว (Tryporyzaincertulas) ผีเสื้อหนอนกอข้าว  ในสกุล  Chilo และChilotraea นอกจากนี้  หนอนในวงศ์นี้ยังเป็นหนอนม้วนใบของพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด  เช่น  มันเทศ  ละมุด  ถั่ว  ฟัก  แฟง  เป็นต้น  หนอนบางกลุ่มดัดแปลงตัวเพื่ออาศัยอยู่ใต้น้ำ  สร้างเหงือกไว้หายใจ   อาศัยอยู่ในปลอก  กัดกินพืชน้ำเป็นอาหาร  ชนิดที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย    คือ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  (Ostrinia  salentialis)

วงศ์ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Cossidae)

วงศ์ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Cossidae)




          วงศ์ผีเสื้อขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มาก   ปีกค่อนข้างยาว ลำตัวใหญ่มาก   มีขนปกคลุมแน่น  การเรียงของเส้นปีก เป็นแบบโบราณ   จำนวนเส้นปีกมีมากกว่าปกติ   และมีเซลล์ปีกเล็กๆ หลายเซลล์    หนอนเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ใช้เวลาหลายปี    กว่าจะโตเต็มที่   มักพบปลอกดักแด้คาอยู่ปากรูที่หนอนเจาะเอาไว้   ในประเทศไทยมีชนิดที่สำคัญ   ๒   ชนิด  คือ หนอนเจาะสัก (Xyleutes    ceramicus)   และหนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera   coffeae)

วงศ์ผีเสื้อลายจุด (Yponomeutidae)


วงศ์ผีเสื้อลายจุด Yponomeutidae




          ผีเสื้อขนาดเล็กถึงขนาดกลาง   บริเวณหัวดูเรียบกว่าผีเสื้อพวกอื่นๆ ปีกสีสวย หรือสีหม่น     บางชนิดที่ปลายปีกคู่หน้ามีลักษณะคล้ายขอ หนอนบางชนิดอาศัยอยู่เป็นกลุ่มในรังที่ทำด้วยใยเหนียว  บางชนิดเป็นหนอนชอนใบ บางชนิดเจาะผลไม้

วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย Euclidean

วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย (Euclidean




          ผีเสื้อในวงศ์นี้มีลำตัวอ้วน ปีกสั้น แต่บินได้เร็ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแต้มเขียวหรือน้ำตาลแดง ส่วนปากเสื่อมไปมากไข่มีรูปร่างแบนคล้ายเหรียญ  หนอนมีรูปร่างแปลกจากวงศ์อื่นๆ โดยมีรูปร่างคล้ายตัวทาก   มีสีและลวดลายต่างๆ สวยงาม  หัวซ่อนอยู่ใต้ลำตัว  รอบๆ ตัวมีกระจุกขนที่มีพิษทำให้ผู้ที่โดนมีอาการปวดแสบปวดร้อน  จึงเรียกกันว่า "ตัวเขียวหวาน" หนอนบางชนิดมีลำตัวเรียบ  ไม่มีหนามเลย  ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น  Parasa  lepida  กินใบพืชหลายชนิด และ Thosea spp. กินใบไม้ผลหลายชนิด