วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผีเสื้อกลางวัน



ผีเสื้อกลางวัน



        ผีเสื้อกลางวัน จะมีสีสันสวยงามสดใสกว่าผีเสื้อกลางคืน ปากมีลักษณะเป็นงวง พร้อมกันนี้จะมีลำตัวที่เรียวยาว ปีกไม่มีขนปกคลุมหรือถ้ามีก็จะบางมากๆ เห็นไม่ชัดเจน เวลาเกาะปีกจะยกพับขึ้นตั้งฉากกับลำตัว ส่วนหนวดก็จะชูเป็นรูปตัววี โดยที่ปลายหนวดจะมีตุ่มเล็กๆ คล้ายกระบองให้สังเกต

        ผีเสื้อ หรือผีเสื้อกลางวัน เดิมรู้จักคุ้นเคยกันในระบบ 10 วงศ์ อย่างไรก็ตามระบบใหม่เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นโดยมีการยุบรวมผีเสื้อบางวงศ์เข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็มีการยกระดับผีเสื้อบางสกุลขึ้นมาเป็นระดับวงศ์ย่อยด้วย ผีเสื้อที่พบและจำแนกชนิดได้แล้วจากประเทศไทยล่าสุดมีทั้งสิ้น 1,287 ชนิด (1,291 ในการพิมพ์ครั้งแรก) 317 ชนิดย่อย หรือ 1,604 ชนิดและชนิดย่อยรวมกัน (10/07/11) แม้ว่าตัวเลขจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเป็นไปตามข้อมูลการศึกษา กล่าวคือผีเสื้อบางชนิดถูกลดขั้นให้เป็นชนิดย่อย แต่ก็มีพบชนิดใหม่เพิ่มขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ผีเสื้อชนิดย่อยจำนวนหนึ่งมีการยุบรวมกัน ทำให้จำนวนชนิดย่อยลดลง แต่ตัวเลขโดยรวมแล้ว จำนวนชนิดแทบไม่แตกต่างไปจากรายงานใน Butterflies of Thailand [2007] พิมพ์ครั้งแรก รายงานนี้ถือว่าดีที่สุดเท่าที่รวบรวมได้จากประเทศไทย ข้อมูลผีเสื้อที่พบในหนังสือของภราดาอำนวย ปิ่นรัตน์ ที่พิมพ์ไว้ระหว่างปี 1981-1996 ทั้ง 6 เล่ม มีจำนวนผีเสื้อรวมกัน 1,129 ชนิดเท่านั้น สำหรับผู้ที่กำลังคัดลอกผลงานนี้ไปใช้โปรดเข้าใจด้วยว่า นี่เป็นผลงานของผู้เขียนที่ทุ่มเทด้วยเงินส่วนตัวทั้งการเดินทางสำรวจและการซื้อตัวอย่างผีเสื้อเพื่อการศึกษาจากภูมิภาคต่างๆ มานานกว่า 20 ปี รวมกันหลายแสนบาท โดยไม่มีเงินบริจาคและสนับสนุนจากหน่วยงานใดๆ ข้อมูลใหม่นี้กำลังจะใช้ในการพิมพ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขหนังสือผีเสื้อของประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิมพ์โดยคาดว่าจะพิมพ์ได้ในปี 2554 นี้ plates สี ล่าสุดได้ประมวลภาพผีเสื้อทุกชนิดที่พบจากประเทศไทยไว้มากถึง 420 plates (388 plates ในการพิมพ์ครั้งแรก) ได้จัดวางไว้เรียบร้อยแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น