วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อ้างอิง



อ้างอิง

  • ·     http://www.school.net.th/library/create web/10000/science/10000-3100.html
  • ·         http://butterflytukta.wordpress.com/2011/08/21/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81/
  • ·         http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

  • ·     http://202.143.150.150/4910414/nighttime.html


วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)


วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)





          พบอาศัยอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน  มักมีปีกสีเหลืองและขาว   ขาคู่หน้าเจริญดีเหมือนผีเสื้อหางติ่ง  เล็บที่ปลายเท้ามี ๔ ซี่  ต่างจากผีเสื้อในวงศ์อื่นที่มีเพียง ๒   ซี่เท่านั้น  ในประเทศไทยมีประมาณ   ๕๐ ชนิด  ที่พบเห็นทั่วโลกคือ ผีเสื้อหนอนคูน (Catopsilia  pomona) กินใบคูน   และใบขี้เหล็ก  ผีเสื้อเณร (Eurema  spp.) ตัวเหลืองเล็ก  บินเรี่ยๆตามกอหญ้า  หนอนสีเขียวใบไม้มีลายขาวพาดด้านข้างตัวตลอดตัว   มักพบลงเกาะดูดกินน้ำตามทรายชื้นเป็นกลุ่มใหญ่

วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)


วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)




          เป็นวงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ  ๒   ปีกบาง   ขนาดเล็กมากจนถึงขนาดปานกลาง    สีและลวดลายมักคล้ายกันทั้งสองปีก  เวลาเกาะกับพื้นจะแผ่ปีกแบนราบกับที่เกาะ  หนอนได้ชื่อว่า   "หนอนคืบ"      เนื่องจากมันมีขาอยู่ตอนปลายสุดทางหัวและทางท้ายเวลาเคลื่อนที่จึงใช้วิธีคืบไป   หนอนมีสีและลวดลายใกล้เคียงกับพืชอาหาร   เวลาตกใจจะยืดตัวตรง  อยู่นิ่งเฉยเป็นเวลานาน  เข้าดักแด้ในดินหรือในรังดักแด้   ที่ห่อเอาใบไม้มาติดกันไว้หลวมๆชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ    คือผีเสื้อหนอนกินใบเงาะ (Pingasaruginaria)

วงศ์ผีเสื้อหนอนกอ (Pytralidae)


วงศ์ผีเสื้อหนอนกอ (Pytralidae)



          วงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓  ของพวกผีเสื้อ     ส่วนมากมีปีกยาวเรียว ส่วนท้องเรียวแหลม  ขายาว     โดยทั่วไปปีกมีสีหม่นบางชนิดมีลายขีดวาวคล้ายโลหะ   ตอนโคนส่วนท้องมีอวัยวะรับเสียงอยู่คู่หนึ่ง  ส่วนมากออกหากินในเวลากลางคืน  หนอนเป็นศัตรูสำคัญของพวกธัญพืช  เช่น  ผีเสื้อชีปะขาว (Tryporyzaincertulas) ผีเสื้อหนอนกอข้าว  ในสกุล  Chilo และChilotraea นอกจากนี้  หนอนในวงศ์นี้ยังเป็นหนอนม้วนใบของพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด  เช่น  มันเทศ  ละมุด  ถั่ว  ฟัก  แฟง  เป็นต้น  หนอนบางกลุ่มดัดแปลงตัวเพื่ออาศัยอยู่ใต้น้ำ  สร้างเหงือกไว้หายใจ   อาศัยอยู่ในปลอก  กัดกินพืชน้ำเป็นอาหาร  ชนิดที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย    คือ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  (Ostrinia  salentialis)

วงศ์ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Cossidae)

วงศ์ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Cossidae)




          วงศ์ผีเสื้อขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มาก   ปีกค่อนข้างยาว ลำตัวใหญ่มาก   มีขนปกคลุมแน่น  การเรียงของเส้นปีก เป็นแบบโบราณ   จำนวนเส้นปีกมีมากกว่าปกติ   และมีเซลล์ปีกเล็กๆ หลายเซลล์    หนอนเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ใช้เวลาหลายปี    กว่าจะโตเต็มที่   มักพบปลอกดักแด้คาอยู่ปากรูที่หนอนเจาะเอาไว้   ในประเทศไทยมีชนิดที่สำคัญ   ๒   ชนิด  คือ หนอนเจาะสัก (Xyleutes    ceramicus)   และหนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera   coffeae)

วงศ์ผีเสื้อลายจุด (Yponomeutidae)


วงศ์ผีเสื้อลายจุด Yponomeutidae




          ผีเสื้อขนาดเล็กถึงขนาดกลาง   บริเวณหัวดูเรียบกว่าผีเสื้อพวกอื่นๆ ปีกสีสวย หรือสีหม่น     บางชนิดที่ปลายปีกคู่หน้ามีลักษณะคล้ายขอ หนอนบางชนิดอาศัยอยู่เป็นกลุ่มในรังที่ทำด้วยใยเหนียว  บางชนิดเป็นหนอนชอนใบ บางชนิดเจาะผลไม้

วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย Euclidean

วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย (Euclidean




          ผีเสื้อในวงศ์นี้มีลำตัวอ้วน ปีกสั้น แต่บินได้เร็ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแต้มเขียวหรือน้ำตาลแดง ส่วนปากเสื่อมไปมากไข่มีรูปร่างแบนคล้ายเหรียญ  หนอนมีรูปร่างแปลกจากวงศ์อื่นๆ โดยมีรูปร่างคล้ายตัวทาก   มีสีและลวดลายต่างๆ สวยงาม  หัวซ่อนอยู่ใต้ลำตัว  รอบๆ ตัวมีกระจุกขนที่มีพิษทำให้ผู้ที่โดนมีอาการปวดแสบปวดร้อน  จึงเรียกกันว่า "ตัวเขียวหวาน" หนอนบางชนิดมีลำตัวเรียบ  ไม่มีหนามเลย  ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น  Parasa  lepida  กินใบพืชหลายชนิด และ Thosea spp. กินใบไม้ผลหลายชนิด

ผีเสื้อกลางคืน


ผีเสื้อกลางคื





ผีเสื้อกลางคืนเป็นผีเสื้อที่ออกหากินตั้งแต่หัวค่ำไปตลอดยามราตรีมีจำนวนมากที่สุด มีการศึกษาผีเสื้อชนิดนี้น้อยมาก ในเว็บนี้เน้นที่ผีเสื้อกลางวันเป็นสำคัญ ลักษณะผีเสื้อกลางคือนั้น มีปีกซ้อนกันเช่นเดียวกับผีเสื้อกลางวัน แต่มีขนแข็งๆตรงบริเวณโคนปีกคู่หลังที่ยื่นสอดเข้าไปเกี่ยวห่วงใต้โคนปีกคู่หน้า หนวดมีทั้งแบบเส้นด้าย แบบฟันหวี เมื่อเกาะจะซ่อนหนวดไว้ใต้ปีก โดยลู่แนบไปตามขอบปีกหรือพับไว้บนด้านหลังของลำตัว ลำตัวมีขนาดอ้วนใหญ่หรืออ้วนกลม มีขนปกคลุมทั่วทั้งตัว เมื่อเกาะจะกางปีกราบหรือลู่ลงคล้ายจะโจม มีบางชนิดที่ยกปกีตั้ง แต่ปีกด้านบนจะไม่แนบชิดติดกัน แม้ว่าผีเสื้อกลางคืนจะหากินตอนกลางคืนก็ตาม ยังมีผีเสื้อกลางคืนบางชนิด ผีเสื้อสกุล ผีเสื้อทองเฉียงพร้า ที่หากินตอนกลางวัน


วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ Family Pieridae

วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ Family Pieridae



  • ขนาด: กลาง ใหญ่
  •   ลักษณะนิสัย: มักรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ โดยรวมกลุ่มกันลงกินอาหารตามพื้นดินแฉะๆ หลายชนิดชอบบินอพยพย้ายถิ่นหากินเป็นกลุ่มๆ ชอบบินเนิบๆ ไม่รีบร้อน ผีเสื้อในวงศ์นี้มักมีโทนสีพื้น ขาว เหลือง ครีม ส้ม เป็นหลัก ปีกคู่หลังโค้งมน ไม่มีรอยเว้าหยัก หรือมีติ่งยื่นออกไปเป็นพิเศษ ขาทั้ง 3 คู่ แข็งแรงสมบูรณ์ ใช้งานได้ดี
  • หนวด: รูปก้านไม้ขีด ยาว และชี้ตรงตลอด ลำตัว: ยาวสมส่วน


วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง Family Papiliondae

วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง Family Papiliondae


  • ขนาด: กลาง ใหญ่
  •   ลักษณะนิสัย: ส่วนใหญ่พบอยู่โดดๆ ไม่ค่อยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ บินได้นานและเร็ว ขณะลงเกาะมักจะขยับปีกอยู่ตลอดเวลา พบเห็นได้ง่ายเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ผีเสื้อในวงศ์นี้มักมีขนาดใหญ่ และมีหางยื่นออกมาจากปีกคู่หลัง อันเป็นที่มาของ ชื่อวงศ์ โดยที่หางก็จะมีรูปร่างต่างกันออกไป ขาทั้ง 3 คู่ เรียวยาวสมบูรณ์ใช้งานได้ ตามปกติ ปีกใหญ่
  • หนวด:รูปก้านไม้ขีด ยาว และมักจะงอนชี้ขึ้นด้านบน ลำตัว:เพรียวยาว

วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ Family Nymphalidae

วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ Family Nymphalidae


  • ขนาด: เล็ก ใหญ่
  • ลักษณะนิสัย: เนื่องจากมีหลายวงศ์ย่อย และแต่ละวงศ์ย่อยก็มีนิสัยเฉพาะ ผีเสื้อในวงศ์นี้มีหลายวงศ์ย่อย และค่อนข้างหลากหลายมาก ทั้งสีสัน และรูปทรง ของปีก แต่จุดสังเกตุหลักคือผีเสื้อวงศ์นี้จะมีขาที่สมบูรณ์เพียง 2 คู่เท่านั้น โดยขาคู่หน้าจะหดสั้นลงเหลือเพียงก้านเล็กๆ และมีขนปกคลุมอยู่ เป็นที่มาของชื่อวงศ์
  • หนวด รูปก้านไม้ขีด ยาว ตรง บางวงศ์ย่อยปลายหนวดจะงุ้มลง ลำตัว ยาวสมส่วน


วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน Family Lycaenidae

วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน Family Lycaenidae


  •   ขนาด: เล็กมาก กลาง
  •   ลักษณะนิสัย: ขณะลงเกาะมักจะหุบปีกตั้งตรง นิ่ง และมักจะยกด้านท้ายให้สูงกว่า ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดเล็ก ปีกบนมีสีออกโทน น้ำเงิน ฟ้า เขียว หรือ ทองแดง หลายชนิดที่ปลายปีกคู่หลังจะจุดสีดำ และหางยื่นออกมาคล้ายหนวด เพื่อลวง ศัตรู ให้คิดว่าเป็นส่วนหัว เพศเมียขาทั้ง 3 คู่ สมบูรณ์ ส่วนเพศผู้ขาคู่หน้า มีขนาดเล็กกว่าปกติ
  • หนวด รูปก้านไม้ขีด ยาว และชี้ตรงตลอด ลำตัว ยาวสมส่วน


วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Skippers) Family Hesperiidae

วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Skippers) Family Hesperiidae


  •   ขนาด: เล็ก กลาง
  • ลักษณะนิสัย: มีหลายวงศ์ย่อยนิสัยแตกต่างกัน
  • ผีเสื้อในวงศ์นี้มีส่วนคล้ายคลึงกับผีเสื้อกลางคืนมาก ปีกเป็นรูปสามเหลี่ยม เล็กและสั้น บินเร็วมาก มักมองตามไม่ค่อยทัน หัวโต ตากลม และมีขนปกคลุมค่อนข้างมาก ขาทั้ง 3 คู่ แข็งแรงสมบูรณ์ ใช้งานได้ดี
  • หนวด: รูปก้านไม้ขีด ยาว ปลายหนวดมักโค้งงุ้มลงเล็กน้อย ลำตัว: อวบสั้น

ผีเสื้อกลางวัน



ผีเสื้อกลางวัน



        ผีเสื้อกลางวัน จะมีสีสันสวยงามสดใสกว่าผีเสื้อกลางคืน ปากมีลักษณะเป็นงวง พร้อมกันนี้จะมีลำตัวที่เรียวยาว ปีกไม่มีขนปกคลุมหรือถ้ามีก็จะบางมากๆ เห็นไม่ชัดเจน เวลาเกาะปีกจะยกพับขึ้นตั้งฉากกับลำตัว ส่วนหนวดก็จะชูเป็นรูปตัววี โดยที่ปลายหนวดจะมีตุ่มเล็กๆ คล้ายกระบองให้สังเกต

        ผีเสื้อ หรือผีเสื้อกลางวัน เดิมรู้จักคุ้นเคยกันในระบบ 10 วงศ์ อย่างไรก็ตามระบบใหม่เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นโดยมีการยุบรวมผีเสื้อบางวงศ์เข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็มีการยกระดับผีเสื้อบางสกุลขึ้นมาเป็นระดับวงศ์ย่อยด้วย ผีเสื้อที่พบและจำแนกชนิดได้แล้วจากประเทศไทยล่าสุดมีทั้งสิ้น 1,287 ชนิด (1,291 ในการพิมพ์ครั้งแรก) 317 ชนิดย่อย หรือ 1,604 ชนิดและชนิดย่อยรวมกัน (10/07/11) แม้ว่าตัวเลขจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเป็นไปตามข้อมูลการศึกษา กล่าวคือผีเสื้อบางชนิดถูกลดขั้นให้เป็นชนิดย่อย แต่ก็มีพบชนิดใหม่เพิ่มขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ผีเสื้อชนิดย่อยจำนวนหนึ่งมีการยุบรวมกัน ทำให้จำนวนชนิดย่อยลดลง แต่ตัวเลขโดยรวมแล้ว จำนวนชนิดแทบไม่แตกต่างไปจากรายงานใน Butterflies of Thailand [2007] พิมพ์ครั้งแรก รายงานนี้ถือว่าดีที่สุดเท่าที่รวบรวมได้จากประเทศไทย ข้อมูลผีเสื้อที่พบในหนังสือของภราดาอำนวย ปิ่นรัตน์ ที่พิมพ์ไว้ระหว่างปี 1981-1996 ทั้ง 6 เล่ม มีจำนวนผีเสื้อรวมกัน 1,129 ชนิดเท่านั้น สำหรับผู้ที่กำลังคัดลอกผลงานนี้ไปใช้โปรดเข้าใจด้วยว่า นี่เป็นผลงานของผู้เขียนที่ทุ่มเทด้วยเงินส่วนตัวทั้งการเดินทางสำรวจและการซื้อตัวอย่างผีเสื้อเพื่อการศึกษาจากภูมิภาคต่างๆ มานานกว่า 20 ปี รวมกันหลายแสนบาท โดยไม่มีเงินบริจาคและสนับสนุนจากหน่วยงานใดๆ ข้อมูลใหม่นี้กำลังจะใช้ในการพิมพ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขหนังสือผีเสื้อของประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิมพ์โดยคาดว่าจะพิมพ์ได้ในปี 2554 นี้ plates สี ล่าสุดได้ประมวลภาพผีเสื้อทุกชนิดที่พบจากประเทศไทยไว้มากถึง 420 plates (388 plates ในการพิมพ์ครั้งแรก) ได้จัดวางไว้เรียบร้อยแล้ว

ผีเสื้อแสนสวย


ผีเสื้อ



        ผีเสื้อได้ชื่อว่าเป็นแมลงแสนสวย ธรรมชาสร้างสรรค์สรีระของผีเสื้อออกมาได้อย่างลงตัว ผีเสื้อจึงคู่ควรกับดอกไม้ซึ่งเป็นพืชที่มีอายุขัยสั้นเช่นกันแต่ทั้งดอกไม้และผีเสื้อ คือสิ่งมีชีวิตที่มีอายุขัยสั้นเหมือนกันก่อนจะมาเป็นผีเสื้อ แมลงชนิดนี้ไม่ถูกเรียกว่า ลูกผีเสื้อแต่เริ่มต้นจากคำว่า ไข่ หนอน และดักแด้ และตัวเต็มวัย หรือ ผีเสื้อ
ผีเสื้อมี 2 ชนิด คือ ผีเสื้อกลางคืน และผีเสื้อกลางวัน สังเกตได้ง่ายๆ ผีเสื้อกลางวันจะมีสีสันสดใสกว่า หากินเฉพาะกลางวัน ปากมีลักษณะเป็นงวง แต่ผีเสื้อกลางคืน จะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ มักมีสีน้ำตาล และไม่มีลายเด่นชัด หากินกลางคืน และบางชนิดมีปากลดรูปไป จนไม่สามารถกินอาหารได้ เช่น ผีเสื้อยักษ์
ย้อนกลับไปดูการเริ่มต้นของการกำเนิดผีเสื้อนั้น ในภาวะการสืบพันธุ์แบบปกติแล้วตัวเมียจะผสมกับตัวผู้ครั้งเดียวเท่านั้น แต่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียได้หลายตัว เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะหาที่วางไข่บนใบ และลำต้นของพืชอาหาร การเลือกพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผีเสื้อนั้นๆ
ก่อนวางไข่ ตัวเมียมักตรวจตรวจสอบกลิ่นพืช โดยใช้หนวดและขนบริเวณปลายขาซึ่งมีเส้นประสาทรับกลิ่นสัมผัสกับตำแหน่งที่วางไข่ก่อน วิธีการนี้ทำให้ผีเสื้อสามารถวางไข่บนพืชอาหารของตัวเองได้อย่างถูกต้อง
ระยะวางไข่ผีเสื้อโดยทั่วไปตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 100 ฟอง มีอายุ 5-7 วัน และใน 100 ฟอง นี้ใช่ว่าจะเกิดเป็นผีเสื้อ 100 ตัวในธรรมชาติ อัตราการรอดของผีเสื้อกลายมมาเป็นแมลงปีกสวยแค่ 2 % หรือ 2 ตัวเท่านั้น ที่เหลือต้องสวมบทบาทเป็นเหยื่อของนกและแมลงบางชนิดไป หรือ อาจจะถูกลมฟ้าพัดพาไข่ให้ล่องลอยไปหมดโอกาสเป็นผีเสื้อในวันข้างหน้า
ดังนั้นวิธีการหลบเลี่ยงศัตรูของผีเสื้อจะใช้วิธีการพรางตัวให้กับใบไม้กิ่งไม้ บางครั้งหากไม่สังเกตจะไม่รู้ว่ากิ่งไม้แห้งมีผีเสื้อหลบภัยอยู่ ผีเสื้อส่วนใหญ่วางไข่ในลักษณะกระจาย คือ ไม่วางไข่ทั้งหมดอยู่บริเวณเดียวกัน จะวางเพียง 1-2 ฟองเท่านั้น ตำแหน่งที่วางไข่อาจแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มักวางไข่ด้านล่างของพืช ระยะตัวหนอนผีเสื้อจะอยู่ในช่วงนี้ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะลอกคราบเพื่อเพิ่มขนาดของลำตัวใหญ่ขึ้น ประมาณ 5-6 ครั้ง ระยะนี้นับได้ว่าเป็นระยะที่มีการทำลายพืชมากที่สุด เพราะหนอนผีเสื้อทุกชนิดกินพืชเป็นอาหาร เรามักเห็นหนอนผีเสื้อหลายชนิดกินเกือบตลอดเวลา และส่วนที่ผีเสื้อชอบกินมากที่สุด คือ ใบ
ผีเสื้อจะไม่กินไม้ผลไม้ดอก และจากการศึกษาพบว่า ผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่ไม่กินพืชเศรษฐกิจ ศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจ คือ ผีเสื้อกลางคืน

ผีเสื้อเมื่อหมดระยะตัวหนอนจะกลายร่างเป็นดักแด้ใช้ชีวิตช่วงนี้ 5-7 วัน และตัวเต็มวัยประมาณ 10-20 วัน เป็นอันจบชีวิตของแมลงแสนสวย